การวิจัยพัฒนารถหุ้มเกราะของกองทัพบกในอดีต
ช่วงนี้เห็นมีข่าวคราวเกี่ยวกับนวัตกรรมช่วยชาติ
การวิจัยพัฒนารถหุ้มเกราะที่สถาบันการศึกษาต่างๆ
นำเสนอต่อกองทัพบก
ก็เลยอยากให้ข้อมูลการวิจัยพัฒนารถหุ้มเกราะที่เคยมีมาในอดีต
กองทัพบกของไทย
ได้มีการวิจัยพัฒนารถหุ้มเกราะขนาดต่างๆ
มาเป็นเวลาช้านานแล้ว
แต่ผลการวิจัยไม่ได้รับการต่อยอด
เพราะเดิมนั้นกองทัพเป็นผู้วิจัยแต่เพียงฝ่ายเดียว
ไม่ได้ร่วมวิจัยพัฒนากับองค์กรอื่นใดทั้งในภาคเอกชนหรือในภาคสถาบันการศึกษา
แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยี่ได้ก้าวหน้าไปมาก สถาบันการศึกษาต่างๆ หรือบริษัทในภาคเอกชนต่างก็มีบุคคลากรที่มีความรู้มากมาย ทำให้กองทัพได้เริ่มปรับตัว หันไปทำความร่วมมือกับองค์กรภายนอกมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากข่าวที่มีออกมาอยู่เรื่อยๆ
วันนี้จะขอนำรถหุ้มเกราะแบบต่างๆ
ที่กองทัพบกโดยศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ(ศอว.)ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร(ศอพท.)
ได้เคยวิจัยพัฒนามาให้ยลโฉมกัน เริ่มต้นกันด้วย
รถเกราะคอมมานโดสเก้าท์
(Commando Scout)
(Commando Scout)
ความเป็นมาของโครงการ : เมื่อปี พ.ศ.2521 ศอว.ทบ. ได้ทดลองสร้างรถเกราะขึ้น 1 คัน ตามแนวความคิดของ พล.อ.เจริญ พงษ์พานิช ซึ่งเป้น เสธ.ทหาร อยู่ในขณะนั้น โดยยึดถือแบบรูปร่าง COMMANDO SCOUT ของบริษัท คาดีแลค สหรัฐอเมริกา เป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 130 แรงม้า และได้ทำการทดลองวิ่งเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศ ต่อมาก็ได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ อีกหลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ.2523 ศอว.ศอพท. ได้รับงบประมาณให้สร้างรถเกราะ ต้นแบบคันที่ 2 อีก 1 คัน โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 150 แรงม้า รูปร่างใกล้เคียงกับคันแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่าคันแรก ทาง ศอว.ศอพท. ได้ทดลองวิ่ง อยู่ประมาณ 1 ปี เป้นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ผลปรากฎว่ารถมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ไม่สมดุลย์กับขนาดของเครื่องล่าง เกิดการชำรุด ง่ายและมีข้อบกพร่องซ่อนเร้น ไม่คาดมาก่อนหลายประการ
สรุปผลการวิจัย : มีข้อบกพร่อง ผลการวิจัยมีข้อบกพร่อง จะต้องปรับปรุงแก้ไขอีกมาก ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ใน ราชการ ทบ.จึงอนุมัติให้ปิดโครงการโดยเก็บตัวอย่างรถเกราะคอมมานโสเก้าท์ จำนวน 5 คัน ไว้ที่ ศอว.ศอพท. เพื่อเป็นข้อมูลในการวิจัยและพัฒนาต่อไปคุณลักษณะเฉพาะ
พลประจำรถ
|
4
|
นาย
|
น้ำหนักพร้อมรบ
|
7
|
ตัน
|
ความกว้าง
|
2,180
|
มม.
|
ความยาว
|
5,070
|
มม.
|
ความสูงตัวรถ
|
1,730
|
มม.
|
ความหนาเกราะ
|
9
|
มม.
|
อาวุธ
|
|
|
|
1
|
กระบอก
|
|
1
|
กระบอก
|
สมรรถนะ
|
|
|
|
105
|
กม./ชม.
|
|
60
|
%
|
|
150
|
ลิตร/335
กม.
|
เครื่องยนต์
|
|
|
|
||
|
||
|
พรุ่งนี้จะมาต่อกันในรถหุ้มเกราะคันต่อไป "รถเกราะสายพานหุ้มเกราะขนาด
15
ตัน"
No comments:
Post a Comment