เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Monday, April 22, 2013

โครงการจัดหาเรือฟริเกต


วันนี้จะมานำเสนอโครงการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือ ที่ผมเคยกล่าวถึงในสรุปข่าวทหารปี 2012 เมื่อวันที่ 8 มี..2013 (สามารถย้อนไปอ่านกันได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/03/2012.html)

ก่อนอื่นก็คงต้องเสนอรายละเอียดของโครงการนี้กันก่อน

โครงการจัดหาเรือฟริเกต
. ความเป็นมา
จัดหาเรือฟริเกต จำนวน ๒ ลำ ที่มีคุณลักษณะเดียวกัน โดยสามารถปฏิบัติการรบได้ ๓ มิติ คือ ต่อต้านภัยจากเรือดำน้ำ ต่อต้านภัยผิวน้ำ และต่อต้านภัยทางอากาศ จึงต้องมีขีดความสามารถ ๕ ด้าน ได้แก่ ปราบเรือดำน้ำ รบผิวน้ำและโจมตีฝั่ง ป้องกันภัยทางอากาศ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ และสงครามศูนย์เครือข่าย โดยจะต้องมีขีดความสามารถโดยรวมไม่ต่ำกว่าเรือฟริเกตของ ทร. ในปัจจุบัน ความเร็วไม่ต่ำกว่า ๒๕ นอต และมีระวางขับน้ำระหว่าง ๒,๐๐๐ - ,๐๐๐ ตัน โดยมีภารกิจในยามสงคราม กิจหลัก ป้องกันอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย กิจรอง คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง ภารกิจในยามสงบ รักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหา
และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และรักษากฎหมายตามกฎหมายให้อำนาจทหารเรือ

. การดำเนินการที่ผ่านมา
     ๒.๑ เมื่อ ๑๗ พ..๕๕ ทร.เห็นชอบให้จัดหาเรือฟริเกต จำนวน ๒ ลำ วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท และส่วนสนับสนุนเพิ่มเติมในเรื่องอมภัณฑ์ อะไหล่ ฯลฯ รวมวงเงิน ๓๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้เริ่มโครงการในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ประกอบด้วยโครงการจัดหาเรือฟริเกต ระยะที่ ๑ วงเงินรวม ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ และโครงการจัดหาเรือฟริเกต ระยะที่ ๒ วงเงินรวม ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑ และเห็นชอบคุณลักษณะทั่วไป แบบ และข้อมูลเรือฟริเกต เพื่อใช้เป็นแนวทางจัดทำโครงการจัดหาเรือฟริเกต
     ๒.๒ เมื่อ ๑๘ พ..๕๕ ทร.แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือฟริเกต (กฟก.) โดยมี รอง เสธ.ทร. (พล...จักรชัย ภู่เจริญยศ) เป็นประธานกรรมการ
     ๒.๓ เมื่อ ๒๓ พ..๕๕ กฟก.แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะตามความต้องการของฝ่ายเสนาธิการ โดยมี จก.ยก.ทร. เป็นประธานกรรมการ
. การดำเนินการ ณ ปัจจุบัน
จัดทำร่างความต้องการของ ทร.
. การดำเนินการต่อไป
เชิญชวนบริษัทมาให้ข้อมูลแบบเรือ

สำหรับโครงการนี้เบื้องต้นมีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลทั้งหมด 11 ราย แต่มีผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 2 รายด้วยกันคือ จากประเทศเกาหลีทั้งคู่
โดยมีอีก
3 บริษัทที่ตกไปก่อนรอบสุดท้ายคือบริษัทจากประเทศ
  • สเปน
  • อิตาลี
  • จีน
นสพ.บางกอกโพสต์ ได้รายข่าวนี้ในวันที่ 21 เม..2013 (http://bangkokpost.com/news/local/346242/s-korea-to-build-thai-navy-frigate) ว่าบ. Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME) เป็นผู้ที่ได้รับเลือกในโครงการนี้

สำหรับบ.แดวู (DSME) นั้นเป็นบริษัทต่อเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และเป็นบริษัทต่อเรือรายใหญ่ 1 ใน 3 รายของเกาหลีใต้ โดยเมื่อปี 2011 บริษัทได้รับสัญญาสร้างเรือดำน้ำำจำนวน3 ลำให้กับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการส่งออกเรือดำน้ำครั้งแรกของประเทศเกาหลีใต้ โดยขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่

คาดกันว่าแบบเรือที่เสนอคือ DW 3000H แต่ทั้งนี้ต้องรอดูในรายละเอียดที่กองทัพเรือจะแถลงต่อไป


ตรงนี้ขอเพิ่มเติมรายละเอียดว่าแบบเรือ DW 3000H นี้เป็นเรือที่ยังไม่มีการสร้างขึ้นมาเลย และยังไม่เคยประจำการในกองทัพใดมาก่อน เพราะเรือที่เกาหลีใต้สร้างเองและได้ประจำการเป็นเรือ HDF3000 ของ Hyundai Heavy Industries Co., Ltd. (HHI) เข้าประจำการในกองทัพเรือเกาหลีใต้ในชื่อว่า FFX1

เราลองมาดูคุณลักษณะของเรือ DW 3000H กันก่อนว่าเป็นอย่างไร
  • ตัวเรือยาว 114 เมตร
  • กว้าง 13.8 เมตร
  • กราบเรือสูง 8.2 เมตร
  • กินน้ำลึก 3.9 เมตร
  • ระวางขับน้ำ 3,000 ตัน
  • เครื่องยนต์ ดีเซล
  • ความเร็วสูงสุด 28 น็อต

เรือ DW 3000H เป็นเรือฟริเกตแบบทวิบทโดยเน้นสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ เรด้าห์และอาวุธประำจำเรือประกอบไปด้วย
  • ระบบเรดาร์ I-Mast 500 จาก Thales
  • ระบบ Electro-Optic แบบ MIRADOR
  • ปืนเรือขนาด 76 มิลลเมตรของ Oto Melara ในป้อมปืนที่ลดการสะท้อนของเรด้าห์
  • จรวดต่อสู้อากาศยานแบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile) ซึ่งติดตั้งอยู่ในระบบท่อยิงทางดิ่ง Mk.41 จำนวน 8 ท่อยิง
  • จรวดแบบพื้นสู่พื้น RGM-84L HARPOON Block II หรือ SSM-700K Hae Sung I แบบ 4ท่อยิงจำนวน 2 ชุด
  • อาวุธปืนขนาด 30mm MSI DS30MR จำนวน 2 ชุด
  • อาวุธปืนระยะประชิดขนาด 20mm CIWS Phalanx จำนวน 1 ชุด
  • จุดติดตั้งเป้าลวง จำนวน 1 จุด
  • แท่นยิง Torpedo ปราบเรือดำน้ำ แบบ 3ท่อยิง จำนวน 2 แท่น
  • จุดติดตั้งระบบโซนาแบบถอดออกได้ จำนวน 1 จุด
  • ลานเฮลิคอปเตอร์ จอดได้ 1 ลำ

ท้ายสุดของวันนี้ คืออยากให้สังเกตว่าบ.แดวู กำลังสร้างเรือดำน้ำให้กับประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นในอนาคตหากกองทัพเรือพิจารณาหาเรือดำน้ำเพื่อใช้ในราชการ บ.แดวู ก็น่าจะได้เปรียบคู่แข่งขันอื่นอยู่บ้าง

***************************


KDX-I (DW4000)
อัพเดท 3 ก.ค.2556 ตอนนี้มีข่าวลือออกมาว่าแบบเรือฟริเกตลำใหม่ของไทย ไม่ใช่ DW3000H แต่จะเป็น KDX-I(DW4000)

KDX มาจากคำว่า Korean Destroyer eXperimental project ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ

  • เฟสแรก - KDX-I ระวางขับน้ำ 3,800 ตัน (ปี 1998)
  • เฟส 2    - KDX-II ระวางขับน้ำ 5,000 ตัน (ปี 2002)
  • เฟส 3    - KDX-III ระวางขับน้ำ 7,000 ตันขึ้นไป (ปี 2007/2008)

เรือ KDX-I ที่กองทัพเรือเกาหลีใต้บรรจุเข้าประจำการนั้นมีขนาดตามโครงการคือ 3,800 ตัน เรียกว่าชั้น Okpo class เป็นเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (DDH - Destroyer Helicopter) บางทีก็เรียก KDX-I หรือ King Kwanggaeto class
ตามแผนเิดิมเกาหลีใต้จะสร้างเรือรุ่นนี้จำนวน 17-20 ลำแต่ภายหลังุเปลี่ยนไปให้ความสนใจในเรือรุ่นต่อมาคือ KDX-II (5000ตัน) แทน ทำให้เรือ KDX-I ถูกสร้างออกมาเพียงแค่ 3 ลำคือ

  1. ROKS Kwanggaeto the Great (DDH-971)
  2. ROKS Ulchimundok (DDH-972)
  3. ROKS Yangmanchun (DDH-973)
ตอนนี้ก็คงต้องรอดูคำแถลงการจากกองทัพเรือว่าแบบเรือฟริเกตใหม่ของไทยจะเป็นเรือแบบไหนกันแน่
ซึ่งหากราชนาวีไทยเลือกแบบ KDX-I แล้วก็คิดว่าภาพเรือ DW4000 ที่โพสนี้คงจะเป็นแบบเรือ KDX-I ที่กองทัพเรือไทยเลือก ทั้งนี้เพราะขนาดระวางขับน้ำของเรือชั้น KDX-I นั้นแค่ 3,800 ตัน แต่ภาพที่โพสเป็นขนาด 4,000 ตัน

ก็เลยนำภาพทั้งสองระหว่าง DW4000 กับ เืรือของกองทัพเรือเกาหลีใต้ในชั้น KDX-I มาเปรียบเทียบให้ดู จะเห็นรายละเอียดที่แตกต่างกัน

ที่เห็นแตกต่างกันชัดคือ ที่เสากระโดงเรือ และห้องสะพานเดินเรือ (ไม่นับรวมอาวุธจรวดหลังปล่องควัน)

2 comments:

  1. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  2. ความสำคัญตอนนี้น่าจะเป็นเรือดำน้ำมากกว่า จะใครสร้างก็แล้วแต่

    ReplyDelete