เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Tuesday, April 2, 2013

การวิจัยพัฒนารถหุ้มเกราะของกองทัพบกในอดีต 2

มาต่อกันที่รถหุ้มเกราะแบบที่ 2 ที่กองทัพบกเคยวิจัยพัฒนา
รถสายพานหุ้มเกราะขนาด 15 ตัน



รถเกราะสายพานหุ้มเกราะขนาด 15 ตัน( Infantry Fighting Vehicle )
ความเป็นมาของโครงการ : เมื่อปี 2523 ทบ. มีนโยบายพึ่งตนเอง ศอว.ศอพท. ในฐานะหน่วยรับผิดชอบในการวิจัย และพัฒนาอาวุธ จึงมีแนวความคิดเห็น ที่จะเสริมสร้างกำลังทางยุทโธปกรณ์ ที่จัดหาได้ยากและมีราคาแพง เพื่อเตรียมเผชิญกับภาระ ที่เราไม่สามารถจะจัดซื้อจากต่างประเทศได้ หรือต่างประเทศไม่ยอมขายให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานรบประเภทสายพาน ศอว.ศอพท. จึงได้เริ่มศึกษาหาข้อมูล ของยานสายพานจากประเทศต่าง มีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้น่าจะทำการทดลองวิจัยและพัฒนาต่อไป จึงได้รายงาน ทบ. ขออนุมัติหลักการวิจัยและพัฒนาต้นแบบรถถังเบา ขนาด 10 – 15 ตัน ขึ้น 1 คัน และขออนุมัติให้ ศอว.ศอพท. เปิดงานการวิจัยและพัฒนาอาวุธ หรืออุปกรณ์ประกอบอาวุธ อุปกรณ์เพิ่มเติมของอาวุธ ที่จำเป็น ในหลักสากลของโลกได้เอง เช่นเดียวกับประเทศที่ได้อาวุธต่าง ตามกำลังงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน และขีดความสามารถทางเทคนิคของโรงงาน เพื่อเตรียมไว้เป็นต้นแบบต่อไป ซึ่ง ทบ. ได้อนุมัติหลักการให้ ศอว.ศอพท. ดำเนินการได้ เมื่อ ทบ. อนุมัติแล้ว ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนารถถังเบา ขนาด 12 ตัน เพื่อศึกษาความเป็นได้ 1 คัน โดยจัดซื้อเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อ ดีทรอย (DETROIT) 6 สูบ ขนาด 300 แรงม้า และระบบเครื่องส่งกำลังจากประเทศ ส่วนประกอบ รวมทั้ง วัสดุอุปกรณ์อื่น ดำเนินการจัดหาในประเทศ ทั้งสิ้น ในขั้นต้นใช้เหล็กเหนียว (MILD STEEL) สร้างเป็นตัวถังแทนเหล็กเกราะ เนื่องจากการสร้างครั้งแรก ย่อมต้องการมีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบต่าง ให้ดีขึ้น ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนารถดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งสำเร็จในอีกระดับหนึ่ง โดยมีเฉพาะตัวรถแต่ยังไม่มีป้อมปืน สามารถนำออกทดลองวิ่งได้เมื่อต้นปี .. 2525 โดยทดลองวิ่งทั้งถนนและในภูมิประเทศ รวมระยะทางประมาณ 1,000 กม. ได้พบข้อบกพร่องหลายประการ ได้แก่ ระบบระบายความร้อน และระบบพยุงตัวรถ เป็นต้น ศอว.ศอพท. ได้นำข้อมูลบกพร่องมาแก้ไขให้ดีขึ้นและออกวิ่งทดสอบอีกหลายครั้ง ได้พบข้อบกพร่องเพิ่มขึ้นและต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขอีกมาก ถ้าจะวิจัยและพัฒนาให้เป็นรถถังเบาที่สมบูรณ์ จะใช้งบประมาณในการดำเนินการค่อนข้างสูง  จึงได้ยุติการวิจัยและพัฒนารถถังไว้ก่อน โดยได้รวบรวมข้อมูลทางเทคโนโลยี่ ไว้เป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนายานสายพานต่อไป และได้เก็บรถถังดังกล่าวไว้เป็นต้นแบบ 
จากอนุมัติหลักการของ ทบ. ดังกล่าวแล้ว ศอว.ศอพท. จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ขนาด 15 ตัน ขึ้น 1 คัน โดยใช้เงินงบประมาณ จากงบประมาณจากงบเสริมสร้างกำลังกองทัพดำเนินการ โดยนำความรู้เทคโนโลยีและประสบการณ์ที่มีอยู่จากการวิจัยและพัฒนา รถถังมาประกอบการพิจารณา ได้แก่ เครื่องยนต์ เครื่องเปลี่ยนความเร็ว ระบบระบายความร้อน ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบบังคับเลี้ยว ระบบพยุงตัวรถ ระบบไฟฟ้าและอื่น เพื่อเลือกระบบที่ดีและเหมาะสม จัดหาได้ง่ายและสามารถนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ได้ เมื่อเลือกส่วนประกอบ วัสดุ-อุปกรณ์ต่าง จนเชื่อมั่นว่าสามารถนำไปใช้งานได้แล้ว จึงได้เขียนรูปแบบยานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ขึ้น เพื่อใช้เป็นรูปแบบในการวิจัยและพัฒนาต่อไป โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาตามลำดับ ดังนี้ เมื่อปี 2525 ได้จัดหาเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อ CUMMINS รุ่น VT-903C 8 สูบ 4 จังหวะ ขนาด 350 แรงม้า ระบบเครื่องเปลี่ยนความเร็ว ยี่ห้อ ALLISONS CLT.754 พร้อมองค์ประกอบจากต่างประเทศ สำหรับส่วนประกอบอื่นจัดหาภายในประเทศ และจัดสร้างขึ้นตามขีดความสามารถของโรงงานของ ศอว.ศอพท. โดยเฉพาะตัวถังใช้เหล็กเหนียว (MILD STEEL) สร้างเป็นตัวถังในขั้นต้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเสร็จเมื่อปี 2528 และได้ทำการทดสอบขั้นโรงงาน เพื่อให้ ทราบถึงการทำงานของส่วนประกอบต่าง พร้อมทำการทดสอบทางวิศวกรรมในสนามหลายครั้งหลายหน เพื่อหาข้อบกพร่อง และได้นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น จากผลการทดสอบปรากฎว่าระบบการทำงานของส่วนต่าง เป็นปกติ นับว่าการวิจัยและพัฒนาได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องที่เครื่องยนต์และเครื่องส่งกำลังเป็นแบบแยกส่วน มีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้พื้นที่ภายในตัวรถคับแคบ ไม่สะดวกต่อการลำเลียงพล และกำลังของเครื่องยนต์ยังไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวรถ ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป 
ต่อมาเมื่อปี 2529 ศอว.ศอพท. ได้รับงบประมาณ โครงการขยายขีดความสามารถของ รง.ตวพ.ศอว.ศอพท. ในส่วนของงานการวิจัยและพัฒนนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. เพิ่มเติม ศอว.ศอพท. จึงได้จัดหาชุดเครื่องยนต์และเครื่องส่งกำลังเป็นชุด POWER PACK จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อ CUMMINS 8 สูบ วี รุ่น VIT – 903 – T ขนาด 500 แรงม้า และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว ยี่ห้อ GE รุ่น HMPT.500 นอกจากนี้ยังจัดหาอุปกรณ์ประกอบต่าง อาทิเช่น ชุดแผงหน้าปัทม์ ระบบไฟฟ้า และเครื่องให้แสงสว่างและระบบระบายอากาศภายในตัวรถ เป็นต้น เมื่อได้ชุด POWER PACK และส่วนประกอบต่าง แล้ว ได้ประกอบเข้ากับยานสายพานหุ้มเกราะ IFV. แทนของเดิมที่ใช้อยู่ โดยคงสภาพตัวถังและส่วนประกอบอื่น ที่ไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขไว้ตามเดิมเมื่อดำเนินการเสร็จ ศอว.ศอพท. ได้นำออกทดสอบโดยการวิ่งบนถนนและในภูมิประเทศหลายครั้ง ผลปรากฎว่าการทำงานของเครื่องยนต์ปกติและมีส่วนสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวรถมากขึ้น สามารถที่จะรองรับการติดตั้งป้อมปืนในโอกาสต่อไปได้ แต่ระบบพยุงตัวรถยังไม่แข็งแรงพอ ที่จะรับน้ำหนักของชุด POWER PACK ที่เพิ่มขึ้น ศอว.ศอพท. จึงมีแนวความคิดที่จะวิจัยและพัฒนาระบบพยุงตัวรถ ให้สัมพันธ์กับน้ำหนักของชุด POWER PACK ต่อไป 
ต่อมาเมื่อปี 2531 ศอว.ศอพท. ได้รายงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุง ยานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ไปที่ ทบ. และ ทบ. ได้อนุมัติให้ ศอว.ศอพท. ดำเนินการปรับปรุงได้ เมื่อ ทบ. อนุมัติแล้ว ศอว.ศอพท. ได้พัฒนาปรับปรุงขนาดล้อขับ ปรับปรุงขนาดล้อปรับ ปรับปรุงล้อขับขั้นสุดท้าย และปรับปรุงสายพานใหม่หมดทั้งชุด เสร็จเรียบร้อยเมื่อ เม..2532 ทำให้ยาน สายพานหุ้มเกราะ IFV. มีโครงสร้างและระบบต่าง ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ตามเป้าหมายอีกระดับหนึ่ง 

บทสรุป : ผลการวิจัย สำเร็จในระดับหนึ่งสามารถใช้งานได้ แต่ผลการวัดยังมีความผิดพลาดอยู่ และวัสดุยังไม่ได้มาตรฐานทางทหาร ทบ.ได้อนุมัติให้ปิดโครงการ ตามหนังสือ สวพ.ทบ. ที่ กห 0428/447 ลง 30 มี..36 เรื่อง ขออนุมัติปิดโครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ของ ศอว.ศอพท. ไม่ได้รับรองมาตรฐานให้ผลิตสนับสนุน ทบ.
คุณลักษณะเฉพาะ


พลประจำรถ
3
นาย
น้ำหนักพร้อมรบ
15
ตัน
ความกว้าง
2,890
มม.
ความยาว
5,900
มม.
ความสูงตัวรถ
1,210
มม.
ความหนาเกราะ
16
มม.
อาวุธ


  • ปก.93 ขนาด 0.50 นิ้ว (12.7 มม.)
1
กระบอก
  • ปก.เอ็ม 60 ขนาด7.62 มม.
1
กระบอก
สมรรถนะ


  • ความเร็วสูงสุดบนท้องถนน
65
กม./ชม.
  • ข้ามสิ่งกีดขวางทางตั้งได้สูง
1
เมตร
  • ลุยน้ำได้ลึก
1
เมตร
  • ความจุเชื้อเพลิง/ระยะปฏิบัติการ
300
ลิตร/150 กม.
เครื่องยนต์


  • CUMMIN VTA-903T 8 สูบดีเซล 500 แรงม้า ที่ 2,600 รอบ/นาที
  • เครื่องเปลี่ยนความเร็วG.E. HMDT-500
  • ระบบไฟตรง 24 โวลท์

No comments:

Post a Comment